Hello Kitty, Bad Badtz-Maru

วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
(Learning Experiences Management in Early Childhood Education)
อาจารย์ผู้สอน:ด.ร. จินตนา สุขสำราญ (อาจารย์ประจำหลักสูตร)
วันที่:จันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 11.30 - 14.30
บันทึกการเรียนครั้งที่:2
กลุ่มเรียน 102 จันทร์ ห้อง 34-301
ความรู้ที่ได้รับ

               ห้องเรียนจะแบ่งเป็นพื้นที่มุมเล่นสำหรับเด็ก เช่น มุมหนังสือและมุมเขียน มุมบล็อก มุมศิลปะ มุมบ้าน มุมของเล่น จัดให้มีพื้นที่อเนกประสงค์สำหรับทำกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กิจกรรมกลุ่มย่อย รับประทานอาหาร และนอนพักผ่อน พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัวเด็กและครู และพื้นที่เพื่อการสื่อสารกับผู้ปกครอง


มุมหนังสือและมุมเขียน

มุมหนังสือและมุมเขียน

            มุมหนังสือและมุมเขียนจัดหนังสือไว้อย่างน้อย 5 เท่าของจำนวนเด็กในห้องเรียน จัดวางหนังสือหลากหลายชนิด ซึ่งมีความยากง่ายต่างๆกัน จัดหนังสือตามหัวข้อที่เด็กสนใจมาวางเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงหนังสือตามโอกาส จัดให้น่าสนใจและดึงดูดใจให้เด็กเข้าไปอ่าน ปูพรม มีหมอนขนาดต่างๆ จัดให้มีสมุดบันทึกการอ่านและเปิดโอกาสให้เด็กยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้าน จัดวางกระดาษชนิดต่างๆ เครื่องเขียนหลากหลายชนิด และตรายางไว้ จัดให้มีรายการคำเพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับการเขียน- จัดอุปกรณ์ให้เพียงพอกับเด็กและจัดวางให้เด็กหยิบใช้และเก็บเองได้



มุมบล๊อก

มุมบล๊อค

                  มุมบล็อกจัดให้มีบล็อกหลายขนาด หลายประเภทและมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของเด็ก มีของเล่นประกอบ เช่น ต้นไม้ สัตว์ คน รถ จำลอง ปูพรมเพื่อป้องกันไม่ให้เสียงดังเกินไป จัดไว้ห่างจากมุมหนังสือ ทำป้ายหรือสัญลักษณ์เพื่อแสดงที่เก็บบล็อก จัดวางกระดาษ และเครื่องเขียนไว้เพื่อการบันทึก และจัดแสดงบันทึกผลงานการต่อบล็อกของเด็ก




มุมบ้าน

มุมบ้าน

               มุมบ้านจัดให้มีสิ่งของต่างๆสำหรับเล่นสมมุติ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ ถ้วยชาม ผักผลไม้จำลอง โทรศัพท์ เตารีด ตุ๊กตา เปล กระจก จัดเครื่องเขียนและกระดาษไว้เพื่อให้เด็กสามารถเขียนเมื่อต้องการ จัดให้มีบรรยากาศอบอุ่นคล้ายบ้าน เปลี่ยนเป็นมุมอื่นๆได้ตามความสนใจของเด็ก เช่น ร้านอาหาร โรงพยาบาล ร้านเสริมสวย ร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ




มุมของเล่น


มุมของเล่น

               มุมของเล่นเป็นมุมที่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการจำแนก การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การเรียงลำดับ และการนับ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญทางคณิตศาสตร์ได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ รวมทั้งยังส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสเพื่อการรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ อีกด้วย สื่อที่จัดไว้ในมุมของเล่นประกอบด้วยของเล่นสำหรับแยกประเภท และจัดกลุ่ม เช่น เปลือกหอยกระดุม ก้อนหิน เมล็ดพืช ฯลฯ ของเล่นที่แยกออกและประกอบเข้าด้วยกันได้ เช่น วัสดุสำหรับการร้อย เลโก้ ขวดที่มีฝาขนาดต่างๆ ฯลฯ ของเล่นสมมุติเล็กๆ เช่น บ้านตุ๊กตา เครื่องมือช่าง ฯลฯ เกมการศึกษาของเล่นที่จัดวางไว้ควรเหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็ก มีการเปลี่ยนแปลงตามโอกาส และหัวข้อที่เด็กสนใจ จัดให้น่าสนใจ และดึงดูดให้เด็กเข้าไปเล่น จัดของเล่นประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันในภาชนะที่เด็กมองเห็นของเล่นได้ง่าย จัดวางในระดับสายตาของเด็ก และใช้สัญลักษณ์เพื่อให้เด็กเก็บของเล่นเข้าที่ได้โดยสะดวก




มุมวิทยาศาสตร์


มุมวิทยาศาสตร์

               ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยทุกคนมีความเป็นนักสำรวจโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอยู่ในตัวเอง เด็กจะใช้การดู ฟัง ดม ชิม และสัมผัสเพื่อค้นหาคำตอบ มุมวิทยาศาสตร์จึงเป็นมุมที่ตอบสนองต่อความต้องการของเด็กได้เป็นอย่างดีสื่อที่ควรจัดไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ควรเป็นสื่อจากธรรมชาติ เช่น เปลือกหอย ก้อนหิน เมล็ดพืช รังนก ต้นไม้ ฯลฯ อาจมีการเลี้ยงปลา มีอุปกรณ์อื่นๆ เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก สายวัด คาไลโดสโคป หนังสือหรือโปสเตอร์เกี่ยวกับการทดลอง ชีวิตสัตว์ หรือเรื่องอื่นๆ ที่เด็กสนใจสำรวจและเรียนรู้ ควรจัดให้มีเครื่องเขียน และกระดาษสำหรับบันทึกไว้ด้วย




มุมศิลปะ

มุมศิลปะ
             เด็กปฐมวัยทุกคนมีความเป็นศิลปินโดยธรรมชาติ ศิลปะเป็นภาษาที่เด็กใช้เพื่อสื่อสารความเป็นตัวตนของเด็ก มุมศิลปะในห้องเรียนอนุบาลจึงควรมีวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลายเพื่อให้เด็กได้เลือกที่จะวาดภาพระบายสี เล่นกับสี พิมพ์ภาพ ปั้น พับ ฉีก ตัด ปะ ประดิษฐ์เศษวัสดุ ร้อย สาน หรือสร้างรูปจากอุปกรณ์ต่างๆ วัสดุอุปกรณ์ที่จัดวางไว้ในมุมศิลปะ ได้แก่ กระดานขาตั้งสำหรับวาดรูป กระดาษชนิดต่างๆ สีเทียน สีไม้ สีน้ำ พู่กัน รูปภาพสำหรับตัด หนังสือพิมพ์ กรรไกร กาว
แป้งโดว์ ดินเหนียว หรือวัสดุอื่นสำหรับการปั้น แม่พิมพ์ เชือก เสื้อกันเปื้อน ผ้าเช็ดมือ เศษวัสดุสำหรับการประดิษฐ์ ฯลฯ





คุณครู สอนเทคนิคการร้องเพลงสงบเด็กจากโรงเรียนที่เพื่อนได้ไปสังเกตมา เช่น


เพลง โปเล โปลา 
โปเล โปเล โปลา โปเล โปเล โปลา
เด็กน้อยยื่นสองแขนมา มือซ้ายขวา ทำลูกคลื่นทะเล
ปลาวาฬ พ่นน้ำเป็นฝอย ปลาเล็ก ปลาน้อย ว่ายตาม
ปลาวาฬ นับ 1 2 3 ใครว่ายตาม ปลาวาฬจับ


เพลงเเมงมุมลาย
แมงมุมลายตัวนั้น
ฉันเห็นมันสงสารเหลือทน
วันหนึ่งมันถูกฝน ไหลลงจากบนหลังคา
พระอาทิตย์ส่องแสง ฝนแห้งเหือดไปลับตา
มันรีบไต่ขึ้นฟ้า หันหลังมาทำตาลุกวาว




เพลงจับปูดำ

จับปูดำ ขยำปูนา จับปูม้า คว้าปูทะเล
สนุกจริงเอย แล้วเลยนอนเปล ชะโอละเห่ นอนเปลเลยหลับไป





เอามือวางไว้บนตัก
ช่างน่ารัก น่ารักจริง ๆ
เด็กดี ไม่ดื้อ ไม่ซน
พวกเราทุกคน.ไม่ใช่ลูกลิง





มดแดง กัดแข้งกัดขา
กัดเสื้อ กัดผ้า ตุ๊งแฉ่ง ตุ๊กแฉ่ง
เรามีตาไว้ดู เรามีหูไว้ฟัง
คุณครูท่านสอนท่านสั่ง
ต้องตั้งใจฟัง ต้องตั้งใจดู



เทคนิคการจัดเด็กเป็นครึ่งวงกลม


โดยให้เด็กแบ่งจำนวนแถวเท่าๆกัน

เก่าและให้เเถวด้านข้างสองฝั่งอยู่กับที่แล้วให้แถวถัดมาเดิน

มาจับมือเเถวด้านข้าง จนกลายเป็นวงกลม



การประยุคเพลงที่มีอยุ่ให้เป้นเพลงใหม่ เช่น 

ทำนองเพลงนิ้วมืออยู่ไหน เพลงนิ้วมืออยู่ไหน

เด็กหญิงอยู่ไหน เด็กหญิงอยู่ไหน อยู่นี่คะ อยู่นี่คะ สุขสบายดีหรือ

ไร สุขสบายทั้งกายและใจ ไปก่อนละสวัสดี

เด็กชายงอยู่ไหน เด็กชายอยู่ไหน อยู่นี่ครับ อยู่นี่ครับ สุขสบายดี

หรือไร สุขสบายทั้งกายและใจ ไปก่อนละสวัสดี




ประเมินผู้สอน : อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาอ่อนหวาน สอนเข้าใจถึงบทเรียนง่าย ใช้น้ำ
                             เสียงที่น่าฟัง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมีสมาธิในการเรียน
ประเมินตนเอง: ให้ความสนใจเป็นอย่างดีในขนะที่อาจารย์สอน พร้อมจดบันทึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น